นิทานทองอิน ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


นิทานทองอิน

"นายทองอิน รัตนะเนตร์ นักสืบที่คอยช่วยตำรวจไขคดีที่ไม่สามารถคลี่คลายได้ ด้วยคุณสมบัติช่างตริตรอง สุขุม มีความสามารถในการปลอมตัวอย่างยอดเยี่ยมของนายทองอิน และด้วยความช่วยเหลือของนายวัดเพื่อนสนิทจึงทำให้นายทองอินสามารถไขคดีได้ทุกคดี"




     นิทานทองอิน เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่สมัยเป็นมกุฏราชกุมาร โดยทรงพระราชนิพนธ์รหัสคดีชุด "นิทานทองอิน" เป็นเรื่องสั้นจำนวน 15 เรื่อง ลงพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร 'ทวีปัญญา' ระหว่าง พ.ศ. 2447-2448 โดยใช้พระนามแฝงว่า “นายแก้วนายขวัญ” 
     นิทานทองอินไม่เพียงแต่เป็นนิยายสืบสวนเรื่องแรกของพระองค์ หากยังเป็นรหัสคดีที่มีตัวละครต่อเนื่องชุดแรกของไทยด้วย จึงอาจจะถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมไทยในแนวรหัสคดี (Mystery) ยุคแรก ๆ ที่เป็นหมุดหมายสำคัญของงานวรรณกรรมไทยสไตล์นี้ในเวลาต่อมา แน่นอนว่างานดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตก เรื่อง เชอร์ลอค โฮล์มส์ ที่มีคุณหมอวัตสันเป็นสหายคู่คิดคู่สืบคดี ของเซอร์ อาร์เธ่อร์ โคนัน ดอยล์ โดยที่ นายทองอิน รัตนะเนตร์ ถือกำเนิดหลัง เชอร์ล็อค โฮล์มส์ 17 ปี และมีภาพลักษณ์เหมือนกับโฮล์มส์เกือบทุกอย่าง แต่ในรายละเอียดของเนื้อหาแล้วเป็นการปรับประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตแบบไทยๆในยุคนั้น ได้อย่างกลมกลืน สำหรับนักอ่านปัจจุบัน อาจจะติดขัดกับสำนวนภาษาแปลกๆที่ไม่คุ้นเคยไปบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะอ่านยากจนถึงกับสะดุด และน่าจะได้รับอรรถรสของวรรณกรรมเรื่องนี้ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ตัวอย่างเนื้อเรื่องจากตอน นากพระโขนงที่สอง
เมื่อสองสามปีมานี้แล้ว มีข่าวเล่าลือกันขึ้นว่าเกิดมีปิศาจดุขึ้นใหม่ที่บางพระโขนง บางปากก็กล่าวว่าปิศาจนี้คือตัวนางนากที่ขึ้นชื่อลือนามมากมากแล้วนั้นกลับมาเที่ยวหลอกหลอนคนใหม่ บางปากก็กล่าวว่าเป็นปิศาจใหม่ชื่อนากเหมือนกัน แต่ภายหลังได้ความว่าปิศาจนี้มีผู้เห็นตามใกล้ๆ บ้านของพันโชติกำนัน พันโชตินั้นเป็นคนมีเงินอยู่บ้างมีภรรยาชื่อนาก ภรรยานั้นถึงแก่กรรมลงได้แล้วประมาณปีเศษ มีบุตรชายอยู่สองคน พันโชติมีความคิดจะหาภรรยาใหม่ แต่ไม่มีหญิงใดกล้าเป็นภรรยาพันโชติ โดยเหตุที่ทราบข่าวอยู่แล้วว่ามีปิศาจที่บ้านนั้น นากภรรยาเก่าของพันโชตินั้น คนแถวนั้นทราบอยู่ทั่วกันว่า เมื่อเวลามีชีวิตอยู่นั้นเป็นผู้หึงมาก และเมื่อจะถึงแก่กรรมได้กล่าวไว้ว่าถ้าผัวมีภรรยาใหม่จะเป็นปิศาจมาหลอก เพราะฉะนั้นคนทั้งหลายจึงลงใจเห็นกันหมดว่าปิศาจนั้นคงจะเป็นปิศาจของนากแน่ ปิศาจนั้นทำประโยชน์ให้แก่พันโชติมาก เวลากลางคืนมีผู้เห็นเที่ยวเดินอยู่ริมคอกกระบือของพันโชติเนืองๆ และครั้งหนึ่งเมื่อมีผู้ร้ายจะมาลักกระบือปิศาจนั้นก็ได้กระทำให้ผู้ร้ายนั้นต้องหนีไป เพราะได้ยินเสียงร้องอึงขึ้นที่ริมคอก และช่วยตักน้ำให้พันโชติเต็มๆ ตุ่มทุกคืน 

อ้างอิง




ความคิดเห็น

  1. เอิ่ม.....คือต้องการทราบชื่อว่าผู้แต่งเรื่องนักสืบนายทองอินคือใคร

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ข้อคิดที่ได้จากการอ่านนิทานทองอิน คืออะไรค่ะ



      ลบ
  2. จะถามว่าข้อคิดที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้างครับ

    ตอบลบ
  3. ต้องการทราบ คุณค่าด้านเนื้อหา วรรณศิลป์ และสังคม ครับ

    ตอบลบ
  4. มันเป็นบทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองคะ

    ตอบลบ
  5. ใครสนิทกับนายทองอินหรอครับ

    ตอบลบ
  6. นักสืบทองอินมีลักษณะการเขียนอย่างไรคะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น