เทคโนโลยี



ที่มาของวิดีโอ : https://www.youtube.com/watch?v=uZ73ZsBkcus

Educational Technology

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

     จากวิดีโอข้างต้นที่ได้แสดงให้เห็นห้องเรียนที่นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่า"ล้ำโลก"เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจยังไม่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน แต่ด้วยวิทยาการที่ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดก็อาจทำให้เรื่องเหล่านี้เป็นไปได้ภายในระยะเวลาอันใกล้

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาคืออะไร?
     เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นศาสตร์ที่ประยุกต์วิชาการต่างๆ มาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนำคำ “เทคโนโลยี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงวัสดุและวิธีการ เมื่อนำมาใช้ กับ “การศึกษา” จึงเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ “สื่อสาร” เป็นกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจและเป็นแบบปฏิสัมพันธ์

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นศาสตร์เฉพาะโดยมีองค์ประกอบของศาสตร์/ วิทยาการ คือ 1) ศัพท์เฉพาะศาสตร์ 2) เนื้อหาสาระ/องค์ความรู้ และ 3) การศึกษาวิจัย ซึ่งว่าด้วย การถ่ายทอดสาระระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งหมายถึงการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์ และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อแก้ปัญหาการศึกษา ทั้งในด้านนปริมาณและด้านนการปรับปรุง คุณภาพของการเรียนการสอน วิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา/เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในประเทศไทย มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามที่แต่ละสถาบันกำหนดซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างกันอย่างไร เนื้อหาของวิชาการก็เป็นเนื้อหาเดียวกันตามขอบข่ายและมาตรฐานวิชาชีพโดยมีจุดเน้นต่างกันตามสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของนโยบายเท่านั้น

เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการแขนงต่างๆมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่ควรได้รับการเผยแพร่ คือ E-learning
   E-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน

ข้อดี
1.ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล้วยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2.ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา
3.ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้
4. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ รวมทั้งเนื้อหาที่มีความทันสมัย
5. ทำให้เกิดรูปแบบการเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น
6. ทำให้สามารถลดต้นทุนในการจัดการศึกษานั้น ๆได้ 

ข้อจำกัด 
1.ผู้สอนที่นำe-Learningไปใช้ในลักษณะของสื่อเสริม ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเลย จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนหมดเร็ว
2.ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้เนื้อหาแก่ผู้เรียน มาเป็นผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้เรียน
3.การลงทุนในด้านของ e-Learningต้องครอบคลุมถึงการจัดการให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาและการติดต่อสื่อสารออนไลน์ได้สะดวก
4. การออกแบบ e-Learning จะต้องเน้นให้มีการออกแบบให้มีกิจกรรมโต้ตอบอยู่ตลอดเวลา เนื้อหาต้องมีความถูกต้องชัดเจน และยังคงต้องเน้นให้มีความน่าสนใจ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้
5. ผู้เรียนต้องรู้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง


อ้างอิง :

ความคิดเห็น